«

»

ธ.ค. 03

คำอธิบายเพิ่มเติม การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปีการศึกษา 2558

คำอธิบายเพิ่มเติม การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ.

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปีการศึกษา 2558

 

ตัวอย่าง หุ่นยนต์นักวิ่งมาราธอน ระดับประถมศึกษา คลิก

              ** หุ่นยนต์ ในระดับประถมศึกษา หลังจากปล่อยหุ่นยนต์แล้ว หุ่นยนต์จะต้องทำภารกิจ โดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์ **

 

ตัวอย่าง หุ่นยนต์นักสนุกเกอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คลิก

 

ตัวอย่าง หุ่นยนต์นักบาสเกตบอล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คลิก

 

คำอธิบายเพิ่มเติมเรื่องวัสดุที่นำมาสร้างหุ่นยนต์

วัสดุที่นำมาประกอบเป็นโครงสร้างหุ่นยนต์

– ใช้วัสดุทั่วไปอย่างไม่จำกัด เช่น พลาสติก ไม้ และโลหะ เป็นต้น สามารถเลื่อย ตัด เจาะ มาก่อนล่วงหน้า หรือจะเลื่อย ตัดและเจาะเพิ่มเติมที่สนามแข่งขันได้ แต่ต้องแยกชิ้นส่วน ห้ามมีการยึดด้วยน็อต ติดกาว หรือเชื่อมต่อด้วยวิธีการใดๆ มาก่อน

– กรณีใช้วัสดุสำเร็จรูปให้แยกชิ้นส่วนมา

– ไม่อนุญาตให้นำวัสดุที่ขึ้นเป็นรูปทรงต่างๆ มาใช้ในการแข่งขัน

อธิบายเพิ่มเติม

1. วัสดุที่ขึ้นเป็นรูปทรงเพื่อใช้งานทั่วไป เช่น ท่อทรงกระบอก(ทั้งแบบกลวงและตัน) ท่อPVC ขวดน้ำดื่ม กล่องใส่อาหาร โลหะฉาก/พลาสติกฉากรวมทั้งบล็อกพลาสติกสำเร็จรูปแบบอเนกประสงค์ของหุ่นยนต์บางชนิดรวมทั้งวัสดุที่หาได้ทั่วไป สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประกอบเป็นโครงสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการแข่งขันได้

2. วัสดุที่ขึ้นรูปเป็นทรงต่างๆ แบบ 3 มิติ ทั้งจากเครื่องพิมพ์ 3D และจากเครื่องขึ้นรูปแบบอื่น เพื่อใช้เป็นโครงสร้างหรือชิ้นส่วนสำหรับทำภารกิจในการแข่งขันหุ่นยนต์ครั้งนี้โดยเฉพาะ ไม่อนุญาตให้นำมาใช้ในการแข่งขันยกเว้นเฉพาะการสร้างเป็นรูปทรงพื้นฐาน เช่น ข้องอ ท่อ หรือ เสา แบบทั่วไป เป็นต้น

3. การใช้เครื่องพิมพ์ 3D หรือเครื่องขึ้นรูปแบบอื่นสำหรับการสร้างวัตถุแบบ 2 มิติ เช่น การสร้างวัตถุแผ่นโค้ง-งอ รวมทั้งการขึ้นรูปหรือตัดหรือฉลุวัตถุต่างๆ ในลักษณะแบน-ราบสามารถนำมาใช้ประกอบเป็นโครงสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการแข่งขันได้

 

การจัดทำโปสเตอร์เพื่อแสดงผลงาน  

                  ทีมหุ่นยนต์ทุกทีมต้องจัดทำโปสเตอร์เพื่อแสดงผลงานหุ่นยนต์ ตามกติกากำหนด มิฉะนั้น กรรมการอาจพิจารณามิให้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยคะแนนส่วนนี้ จะไม่นำไปพิจารณารวมกับคะแนนภารกิจในการแข่งขันในระบบงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ผลงานของนักเรียน และร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ร่วมกัน รวมทั้งเพื่อประโยชน์สำหรับคณะกรรมการจัดการแข่งขันในการพิจารณาคุณสมบัติหุ่นยนต์ ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่